ซะกาต คืออะไร สำหรับชาวมุสลิมคงจะรู้จักกันแล้ว ซึ่งในบทความนี้สาระรีฟจะมาบอกกับทุกท่านว่า จริงๆ แล้ว ซะกาต ก็คือการบริจาค ที่เรานำรายได้สินทรัพย์ต่างๆ ของเรามาคำนวณ ให้แก่ผู้ยากไร้ ตามประเภทที่ทางศาสนาได้ระบุไว้ ว่าใครที่มีคุณสมบัติรับซะกาตได้บ้าง
การบริจาคนี้จะมีประเภทของการบริจาคหลากหลาย ซึ่งแต่ละแบบเองก็จะมีรูปแบบของการคำนวน วิธีการที่เราจะบริจาค ให้กับผู้ที่ได้รับสิ่งเรานั้นแตกต่างกัน ซึ่งหากจะเปรียบเทียบให้กับทุกท่านได้เห็นภาพก็จะมีความคล้ายกับภาษีรายได้ประจำปี ที่ไม่ว่าทุกคนจะได้รายได้เท่าไหร่ ก็จะมีเกณฑ์ของกฎหมายกำหนด ไว้ว่าถ้าเกิดคุณมีรายได้เกินช่วงประมาณนี้ คุณเองก็จะต้องมีการจ่ายภาษีในอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการบริจาคซะกาต ก็มีรูปแบบของการชำระเงินบริจาคคล้ายๆกัน
คราวนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการบริจาคกันบ้างว่าปกติแล้วชาวมุสลิมนิยมที่จะนำสิ่งที่จะบริจาคไปให้กับหน่วยงานไหนและหน่วยงานนั้นมีรูปแบบของการบริหารจัดการตัวเงินบริจาค อย่างไร ซึ่งหลายครั้งคนมุสลิมเอง ก็ไม่ได้เอาสินทรัพย์ที่จะบริจาคส่งตรงไปให้กับผู้รับโดยตรง ก็จะใช้ให้ผ่านตัวกลางที่เป็นหน่วยงานในการบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้ให้บริจาคก็ไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่จำเป็นในการรับสิ่งของบริจาคเหล่านั้นนั่นเอง
ใครบ้างที่มีสิทธิ์รับซะกาต
- ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินและไม่มีรายได้
- ผู้ที่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย
- เจ้าหน้าที่ดูแลและจัดเก็บซะกาต
- ผู้ที่เข้ารับอิสลามใหม่
- ผู้ที่ไถ่ทาส หรือ เขลยศึก
- ผู้ที่เป็นหนี้สินล้นตัว แต่ยังคงสะสางหนี้ในหนทางที่ถูกต้อง
- ผู้ที่ทำงานเพื่อศาสนา
- ผู้ที่เดินทาง
ซะกาตฟิตเราะห์
สำหรับซะกาตฟิตเราะห์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งประเภทที่ชาวมุสลิมต้องบริจาคหลังจาก สิ้นเดือนรอมฎอน หรือช่วงที่คนมุสลิมต้องถือศีลอด หลังจากบำเพ็ญศิลป์ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือน โดยลักษณะของการบริจาคซะกาต ประเภทนี้ก็จะเป็นการมอบอาหารแห้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร ต่างๆ ให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาต ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
มูลค่าของข้าวสารอาหารแห้ง ที่เราบริจาคแต่ละปี ก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับราคาของสิ่งที่เราจะบริจาคในปีนั้นๆ เราเองก็จะต้องมาดูว่าในปีนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ เราเองก็จะมาคำนวณว่าสุดท้ายแล้วเราจะต้องบริจาคในราคาเท่าไหร่อย่างไร
ปกติแล้วผู้นำครอบครัว ก็มักจะบริจาคให้กับคนในครอบครัวเลย ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่ออาจจะทำการบริจาค โดยรวมภรรยา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็จะบริจาคให้เลย โดยที่ผู้นำครอบครัวเป็นตัวแทนในการบริจาคในปีนั้นๆ พร้อมกับกล่าวเจตนาในการบริจาคในแต่ละส่วนว่าส่วนหนีเป็นส่วนของใครในสมาชิกครอบครัว
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครต้องการซะกาต
ปกติแล้วผู้บริจาคอาจจะไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่มีคุณสมบัติ ในการรับเงินหรือรับสิ่งของที่ทางผู้ให้จะบริจาคไป ดังนั้นจึงมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการบริจาคเหล่านั้น ให้สามารถนำสินทรัพย์หรือข้าวสารอาหารแห้งส่งตรงถึงมือผู้รับได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มัสยิดในชุมชนที่รู้ถึงคนในชุมชนว่ามีใครที่มีสิทธิได้รับซะกาต หรือหน่วยงานศาสนาตามสถานที่นั้นๆ ที่อาจจะมีข้อมูลของผู้รับบริจาคอยู่แล้ว ก็จะง่ายในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น
เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทสำคัญมากในชีวิตประจำวันของคนสมัยนี้ เลยทำให้มีคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสาต้องการที่จะเป็นคนบริหารจัดการตัวสิ่งของที่ซะกาต ให้ไปถึงผู้ได้รับได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาแพลทฟอร์มขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น www.zakatthailand.com ก็จะเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่พัฒนาระบบให้โปร่งใส และง่ายในบริหาร พร้อมลดระยะเวลาในการดำเนินการให้เร็วขึ้น
โดยแพลทฟอร์ม Zakat Thailand นั้น ผู้ร่วมก่อต้อง มีแนวความคิดที่ว่า เงินที่มาจากผู้บริจาค ที่ส่งไปถึงผู้รับบริจาคนั้น หากจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรที่จะส่งเสริมในแนวสร้างอาชีพให้เขาด้วย หากผู้ที่ได้รับบริจาค มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็จะช่วยให้ในอนาคต เขาจะเป็นกลายเป็นผู้ให้บริจาคต่อไป ซึ่งส่วนตัวสาระรีฟ ชอบความคิดแบบนี้ เพราะมันอยู่ในรูปแบบของการที่เราให้เบ็ดตกปลา แล้วเขาสามารถนำเบ็ด ไปตกปลา ต่อยอดชีวิต เลี้ยงดูตัวเอง และครอบครัวของเขาได้ดียิ่งขึ้น