fbpx
วันเสาร์, ธันวาคม 14, 2024
หน้าแรกBusiness Casesความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กับ วิถีคิดแบบ Startup

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กับ วิถีคิดแบบ Startup

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations หรือ International Studies หรือ IR) เป็นหลักสูตรที่มีอยู่ในหลาย ๆ มหาลัยชั้นนำ แต่รู้หรือไม่ ศาสตร์นี้ใกล้ชิดกับ Startup ยิ่งนัก เพราะคนที่เรียนในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะมองเห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมได้หลายมิติ

ด้วยความสำคัญดังกล่าว พร้อมวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพของนักศึกษา ทำให้ ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตร ม.สงขลานครินทร์ จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มศํกยภาพนักศึกษาให้มีความโดดเด่นมากขึ้นด้วยโมเดล Startup ที่เน้นการเข้ามาแก้ปัญหาของสังคม ผนวกไปด้วยการผลักดันทางเศรษฐกิจไปเช่นเดียวกัน

สาระรีฟ จึงได้รับเกียรติในการ เชื่อมโยงน้อง ๆ นักศึกษาปีที่ 2 ของคณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการเปิดโลกทัศน์มุมมอง ณ ห้องศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ โดยเนื้อหาที่มาแบ่งปัน จะเป็นเรื่องที่ทำให้น้อง ๆ ได้เห็นว่า ตนเองสามารถช่วยเหลือสังคม และสร้างอาชีพในอนาคตได้ในเช่นเดียวกัน โดยมีหัวข้อโดยที่เอามาแชร์ สรุปคร่าว ๆ ดังนี้ครับ

โอกาสนักศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-และธุรกิจเพื่อสังคม-บรรยาย-สาระรีฟ-การตลาดบ้านๆ

ความเชื่อมโยง

เริ่มต้นจาก สาระรีฟ ทำการเชื่อมโยงน้อง ๆ ที่เข้าร่วมฟัง ว่าสิ่งที่เรียนอยู่ไม่ได้ใกลตัว โดยให้เห็นจาก ตัวสาระรีฟเอง ที่มีโอกาสได้มองเห็นโอกาสในสิ่งที่เรียน มาต่อยอดทำธุรกิจ โดยเริ่มจากการที่เรียนในศาสตร์วิชา วิศวกรรมซอฟตแวร์ ที่หลายคนคงมองว่า เรียนสายเขียนโปรแกรม จะให้มาบรรยายหรือมานำเสนอธุรกิจคงจะยาก

แต่จุดเชื่อมโยงที่ทำให้ตัวเราเด่นกว่าคนอื่นคือ การที่คนเรียนสายนี้รู้เทคโนโลยีในเชิงลึก หากเลือกที่จะเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจ จะช่วยให้เรามีความสามารถในการนำเครื่องมือ หรือ เลือกเทคโนโลยี ให้เข้ากับบริบทน่าจะดีกว่าคนที่จบสายบริหารธุรกิจโดยตรง (อารมณ์มีความรู้ 2 ศาสตร ก็รู้ลึก และ กว้างกว่า)

สิ่งเหล่านั้น หากเทียบกับน้อง ๆ ที่เรียนในสายรัฐศาสตร์ด้วยแล้ว สิ่งที่น้อง ๆ มีมากกว่าคนอื่นคือ การมองปัญหาของสังคม ในเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดีกว่า ซึ่งนั่นจะช่วยทำให้มองสิ่งที่จะช่วยมาตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวให้ลดลงได้ในหลายมิติ อีกทั้งยังสามารถสร้างสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาเสนอแก่สังคมได้ในหลายมิติยิ่งขึ้น

หากกล้าที่จะเพิ่มเติมความรู้ในเชิงของการทำธุรกิจ จะมองเห็นภาพรวมในเชิงการแก้ปัญหาสังคมได้ดีขึ้น เพราะปัญหาปากท้อง ของสังคม เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับ เรื่องการเมืองเลย เพราะหาก ผู้คนหิวโหย ในความหิวโหยนั้น จะมีโอกาสทำให้คนเหล่านั้นเลือกทำในสิ่งที่ทำให้ตัวเองเอาตัวรอดในทุกวิธี นั่นย่อมนำมาซึ่งการเลือกวิธีที่ผิด ไปสู่ปัญหาทางสังคมได้ต่อ

การเข้ามาแก้ปัญหา พร้อมไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่สังคม และตัวนักศึกษาเองนั้น สามารถทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ที่นอกจากจะช่วยเหลือสังคมได้แล้ว ยังสร้างอาชีพให้ตัวเองในอนาคตได้อีกด้วย

Mindset

สำหรับ Mindset นี้จะช่วยให้น้อง ๆ ได้ลดข้อจำกัดของตัวเองลง ว่าคนเรา หากจะทำอะไรสักอย่าง ไม่ต้องรอวันที่พร้อมแล้วถึงจะทำได้ แต่ต้องมีแนวความคิดที่ว่า จะทำธุรกิจ ต้องฉลาดเลือก “ทรัพยากร” ที่มีอยู่วันนี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสูด สามารถต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ จากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตต่อไป

สิ่งนี้สาระรีฟ นำเสนอในเชิงของ 3 แนวความคิดในการเริ่มทำอะไรสักอย่างจากจุดเล็ก ๆ โดยมี 3 ขั้นตอนที่วนกันเป็น Loop คือ

  1. คิดแล้วทำ (Build)
  2. ทำและวัดผล (Measure)
  3. วัดผลและเรียนรู้ (Learn)

กรณีศึกษา

สาระรีฟ ได้นำโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้อง ๆ ที่เรียนที่ต่อยอดไอเดียได้ว่า น้องๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยกรณีศึกษาที่เอามาให้ดูมีมากมาย แต่จะยกตัวอย่างมาให้ 2 ตัวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่น้อง ๆ เรียนเป็นหลักละกันนะครับ (จริง ๆ ในการบรรยายมีเยอะกว่านี้) โดยเริ่มจากโครงการแรกกันเลยครับ

ONE แคมเปญของวงดนตรี BONO

กรณีศึกษานี้ เริ่มจากวงดนตรี ที่มี โบโน ผู้ก่อตั้ง ที่แต่เดิมตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆขึ้นมา และมีความคิดริเริ่มโครงการ DATA (Debt-หนี้, Aids-เอดส์,Trade-การค้า,Africa-แอฟริกา) ที่ต้องการเข้ามาสร้างชีวิตของคนแอฟริการให้ดีขึ้นใน 4 บริบท จึงทำให้ บิลล์ เกตส์ ภายใต้การนำของมูลนิธิบิลล์และเมลินตา เกตส์ เข้ามาสนับสนุนเงินทุนโครงการดังกล่าวต่อมา จึงทำให้ชาวแอฟริกา สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น จากโอกาสต่าง ๆ ที่แต่เดิมตกอยู่ที่นายทุน กลับมาช่วยสร้างชีวิตใหม่ให้คนได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

เทใจ – Taejai

โครงการ เทใจ เป็นโครงการที่คาดหวังการสร้างกิจกรรมทางสังคมให้ดีขึ้น โดยเป็นโครงการที่ จะนำกิจกรรมต่าง ๆ มาโพสลงในแต่ละช่องทาง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการทำสิ่งเหล่านั้น เพื่อให้ผู้ที่ต้องการบริการ สามารถเลือกกิจกรรมต่าง ๆ และบริจาคให้กลุ่มนักกิจกรรมดังกล่าวได้ง่ายขึ้น โดยการทำลักษณะนี้จะเป็นลักษณะของการใช้มวลชนในการหาเงินทุน (Crowd Funding)

สรุปประเด็นเนื้อหากับเนื้อการที่เรียน

พอสาระรีฟ อธิบายเนื้อหาต่าง ๆ จนจบแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ อาจารย์รายวิชา ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ ได้มาสรุปเนื้อหาทั้งหมด พร้อมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนให้แก่น้องๆ ว่าการเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องการเมืองเท่านั้น แต่เศรษฐกิจเองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่กลุ่มประเทศต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน โดยมีการยกตัวอย่าง ในสมัยสงครามเย็นช่วง 1980 ไปสู่วิธีการต่างๆ เชื่อมโยงกันจนถึงวิธีการในปัจจุบัน

สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง สามารถอ่านต่อได้นะครับ

ช่องทางติดตามผลงาน

ติดตามผลงานช่องทางต่างๆ ได้

Facebook: https://www.facebook.com/sararifmkt

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCUt1RPFDIOaFnrogwZHi34Q

Tiktok : https://www.tiktok.com/@sararifmkt

Line : https://lin.ee/3KWTirDxI

Website : https://www.sararif.com

Sharif Densumite
Sharif Densumitehttp://www.sararif.com
Chief Executive Officer - Has Order Co, Ltd.
RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments