วิธีทําการตลาดบน facebook เป็นหนึ่งในช่องทางที่หลายคนมองว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจที่ทำอยู่ แต่ ณ ตอนนี้ Facebook กำลังเผชิญความท้าทายค่อนข้างมาก ตั้งแต่การโดนต่อต้านจากแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มองว่าเป็น Platform ที่สร้างความเกลียดชังจากคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) อีกทั้งยังมี Platform ใหม่ๆ ทั้ง Tiktok และ อื่นๆ ที่เข้ามาแย่งเวลาการเล่น Facebook ให้น้อยลง หรือ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อทางเศรษฐกิจที่ทำให้ Facebook ประกาศลดการว่าจ้างงานลง
ใคร ทำการตลาดบน Facebook อยู่ คงจะสังเกตุได้ว่า ต้นทุนในการทำโฆษณา ณ วันนี้ไม่ได้ถูกเหมือนสมัยก่อน ยิงโฆษณาทีไร แทบจะเท่าทุน หรือกินทุนของสินค้า อีกอย่างการทำคอนเทนท์ก็ยังถูกปิดกั้นค่อนข้างมาก จนแทบจะมีคนเห็นที่มีจำนวนน้อยมาก จนทำให้เรารู้สึกว่า การใช้เวลาในการทำคอนเทนท์ที่อุตส่าห์ทำอย่างดี เหมือนทำมาแล้วคนไม่ค่อยเห็น ก็จะรู้สึกท้อๆ กันตามไป ซึ่งเหตุผลนี้เองเป็นสิ่งที่ทาง Facebook เองพยายามให้เราทำการเพิ่มการมองเห็นด้วยการยิงโฆษณานั่นเอง
ณ วันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook เป็นเครื่องมือที่ช่อวยในการทำแบรนด์ให้กับหลายๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็ก ก็ล้วนต้องใช้ Platform Facebook ในการสร้างการรับรู้ พร้อมทั้งจำหน่ายสินค้าและบริการที่ตนเองมี ซึ่งสมัยก่อนการทำการตลาดในช่องทางนี้ได้ผลตอบรับที่ดีมาก แต่พอเวลาผ่านไป กลายเป็นว่า สิ่งที่ทำเหมือนเดิมที่เคยไปได้ดี กลับกลายเป็นเหมือนว่ามันไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนก่อนๆ จนทำให้หลายธุรกิจเริ่มรู้สึกว่าการทำ การตลาดบน Facebook นี้เหมือนจะไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน
สาระรีฟ จะมาสรุปให้คร่าวๆ ว่าตอนนี้การทำ การตลาดบน Facebook ทุกวันนี้ อะไรบ้างที่ทำให้คนทำธุรกิจที่ใช้ Platform Facebook รู้สึกว่า ทุกวันนี้การทำการตลาดในช่องทางนี้มีความยากขึ้นกว่าเดิม
- ค่าโฆษณาที่ต้นทุนสูงขึ้น โดยใช้งบเท่าเดิม แต่จำนวนคนเห็นน้อยกว่าเดิม
- จำนวนคนที่ทำการตลาดบน Facebook สูงขึ้นทำให้การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- ผู้บริโภคเริ่มหา Platform อื่นๆ ในการทำการตลาดแทน ไม่ว่าจะขายบน Shopee, Lazada หรือ Tiktok ที่กำลังเป็นที่นิยมเช่นกัน
สังเกตุแล้วหรือยังว่า ณ ตอนนี้การที่เราทำการตลาดบนช่องทางเดียว เริ่มจะได้ผลลัพธ์ยากขึ้น จึงต้องใช้การประยุกษ์หลายๆ Platform เข้ามาช่วยในการขายสินค้าหรือบริการของธุรกิจเราให้หลากหลายขึ้น ถึงจะช่วยให้ยอดขายที่เคยได้ กลับมาเท่าเดิม หรือ เพิ่มมากขึ้นจากที่ทำเพียงแค่ Platform เดียว
ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ที่ทาง Facebook ออกมานั้น ทำให้กลยุทธ์ในการทำการตลาดค่อนข้างเปลี่ยนไปมาก ดังนั้นสิ่งที่สาระรีฟ เตรียมข้อมูลมาให้กิจการทุกท่าน ในการเอาตัวรอดในการทำธุรกิจออนไลน์ทุกวันนี้ ให้รองรับการพฤติกรรมโลกออนไลน์ของลูกค้าเราที่เปลี่ยนไป เราจะเตรียมกลยุทธ์ยังไงได้บ้าง
สร้าง Brand ให้เป็นที่จดจำ
สิ่งแรกที่สาระรีฟ แนะนำให้ทุกธุรกิจต้องทำก็คือ การสร้างแบรนด์ของสินค้าหรือบริการ ที่เราทำให้เป็นที่จดจำของลูกค้า ซึ่งการสร้างแบรนด์นั้นไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบโลโก้ให้สวย แพคเกจจิ้งให้ดูดี แต่การสร้างแบรนด์คือการทำองค์ประกอบต่างๆ ของการสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าเป้าหมายของเราได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้สินค้าและบริการของเรา ยิ่งเราทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยลูกค้าที่เข้ามาใช้สินค้าและบริการของเรายังได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไปทุกครั้ง ก็จะช่วยให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวมีการจดจำและประทับในสิ่งที่เรามอบคุณค่าให้เขา จนทำให้ทุกครั้งที่ลูกค้าเองต้องของที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาจำได้ สินค้าหรือบริการของเราก็จะเป็นตัวเลือกหลักในใจลูกค้าเสมอ
ดังนั้นการสร้างแบรนด์ทำได้หลากหลายวิธีเลย ตั้งแต่แบรนด์ของสินค้าหรือบริการเอง หรือ สร้างแบรนด์จากผู้ผลิต จำหน่าย หรือ เจ้าของสินค้า (Personal Branding) ที่ไม่ว่าจะสร้างแบรนด์ด้วยวิธีการใด ก็ย่อมเป็นผลดีให้ลูกค้าได้จดจำสินค้าและบริการเราได้ตลอดเวลานั่นเอง ดังนั้นการสร้างแบรนด์จะต้องทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ลูกค้าลืมเรานั่นเอง
สร้างช่องทางการขายของตัวเอง
อีกอย่างหนึ่ง ที่กลยุทธ์ที่สาระรีฟใช้ ก็จะเป็นการสร้างช่องทางการขายของตัวเองขึ้นมาด้วย ทำคู่ขนานไประหว่าง Platform ต่างๆ ที่เราทำอยู่แล้ว โดยช่องทางการขายที่สาระรีฟนิยมใช้ก็จะเป็น Website ที่บ่งบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าและบริการที่เรามี เพราะการที่เรามีช่องทางของตัวเองนั้น มันจะช่วยให้เราสามารถปรับแต่งช่องทางการขายของเรายังไงก็ได้ เพื่อสร้างคุณค่าและประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า อีกทั้งข้อดีของ Website คือสามารถสร้างการรับรู้ได้ในหลายๆ Platform ที่รองรับการนำเสนอข้อมูลแบบ Website อยู่แล้ว
ตัวอย่างของ Website ที่ใช้อยู่ ก็จะเป็นแนวแบ่งปันข้อมูลในเชิงของบทความ และ ในส่วนของการขายสินค้าแบบใส่สินค้าในตะกร้า (E-commerce) ซึ่งการที่เรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ลูกค้า มันก็จะช่วยทำให้ลำดับการค้นหาช่องทางการขายของธุรกิจเราดีขึ้นด้วย ซึ่งนักขายออนไลน์มักจะเรียกวิธีการที่ทำให้ลูกค้าค้นหาเราเจอใน Google ก็คือวิธีที่เรียกว่า SEO (Search Engine Optimization) อีกทั้ง Website ที่เป็นแบบ E-commerce ก็ยังสามารถทำให้สินค้าบน Website เราเข้าไปสร้าง สินค้าใน Facebook Shop ได้เช่นกัน โดยให้ทาง Facebook เชื่อมต่อกับ Website เราผ่านฟังก์ชัน Facebook Catalogue นั่นเอง
รักษาฐานลูกค้าเก่า เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ต่อเนื่อง
สิ่งสุดท้ายที่ทุกกิจการต้องห้ามพลาดก็คือ การรักษาฐานลูกค้าเก่าให้กลับมาใช้บริการอีกครั้งนั่งเอง ซึ่งถามว่าทำไมเราต้องจริงจังกับเรื่องนี้ อย่างแรกเลย ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ ณ วันนี้มีแต่สูงขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากการยิงโฆษณาที่ต้นทุนสูงขึ้น หรือ Platform ต่างๆ เองก็มีการปิดกั้นพอสมควร ซึ่งการจะหาลูกค้าใหม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนการประชาสัมพันธ์ที่สูงขึ้นนั่นเอง
แต่การที่เราทำระบบการบริหารลูกค้าเก่าให้กลับมาใช้บริการให้สูงขึ้น จะช่วยทำให้ยอดขายเราไม่ตกลงมาก แต่จำเป็นต้องมีวิธีในการดึงลูกค้าเก่าๆ ที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการของเรามาแล้ว ให้เขาง่ายในการกลับมาอีกครั้ง ซึ่งวิธีในการดึงลูกค้ากลับมานั้นก็มีหลายวิธี ตั้งแต่เก็บข้อมูลการติดต่อของลูกค้า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าและบริการเราเราไปแล้ว กี่วันที่เขาจะใช้สินค้าหรือบริการนั้นหมดไป เช่น สินค้าเราใช้ได้ 30 วัน ดังนั้นเมื่อลูกค้าเริ่มจะใช้หมด เราก็ต้องไปติดต่อเขาอีกรอบ จะอ่านการโทรไปก็ได้ เพื่อเสนอขายอีกครั้ง มันก็จะช่วยให้ยอดขายของเราเพิ่มมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องได้ลูกค้าจากช่องทางการยิงโฆษณา Facebook นั่นเอง
เป็นไงกันบ้างครับ กับข้อมูลกลยุทธ์ที่ทางสาระรีฟเอามาแชร์ ให้เพื่อนๆ ทุกคน ได้ลองไปใช้กัน มันสามารถช่วยให้ความรู้สึกที่เรารู้สึกว่า การตลาดบน Facebook ที่ตอนนี้ดูยากขึ้น กลับกลายเป็นง่ายลง เพียงวิธีการง่ายๆ ที่แชร์ไปนั่นเอง
ติดตามหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี้ได้ต่อเลยนะครับ
- ปี 2021 จะปรับตัวธุรกิจอย่างไรดี
- สร้างธุรกิจให้เติบโต ตอน กล้าแตกต่าง
- ธุรกิจเจ๊ง ถ้าไม่ระวัง 5 อย่างนี้
ช่องทางติดตามผลงาน
ติดตามผลงานช่องทางต่างๆ ได้
Facebook: https://www.facebook.com/sararifmkt
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCUt1RPFDIOaFnrogwZHi34Q
Tiktok : https://www.tiktok.com/@sararifmkt
Line : https://lin.ee/3KWTirDxI
Website : https://www.sararif.com