fbpx
วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2024
หน้าแรกStrategyFranchiseธุรกิจแฟรนชายส์ พื้นฐานสำหรับมือใหม่

ธุรกิจแฟรนชายส์ พื้นฐานสำหรับมือใหม่

ธุรกิจแฟรนชายส์ เป็นทางเลือกหนึ่งของการขยายธุรกิจที่รวดเร็ว พร้อมทั้งคนที่อยากจะทำธุรกิจเองก็ได้ธุรกิจไปเริ่มได้สะดวกยิ่งขึ้น สำหรับบทความนี้สาระรีฟ เลยอยากมาแชร์ว่า สำหรับคนที่อยากจะทำธุรกิจแฟรนชายส์ แล้วยังไม่เคยทำเลย หรือเป็นมือใหม่ เราจะต้องรู้จักอะไรบ้าง พร้อมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสร้างธุรกิจแฟรนชายส์ของเรา ให้สามารถเติบโตได้ตามที่เราคาดหวัง

ทำไมธุรกิจเรา ต้องทำแฟรนชายส์

อย่างแรกสิ่งที่สาระรีฟ อยากให้ทุกท่านที่อ่านบทความนี้ตอบคำถามให้ได้ก่อนเลยก็คือ ธุรกิจเราจำเป็นต้องเป็นแฟรนชายส์หรือเปล่า ถ้าใช่ ทำไมระบบแฟรนชายส์ถึงตอบโจทย์กับเป้าหมายที่เราอยากได้ ที่สาระรีฟถามแบบนี้ เพราะบางธุรกิจการทำแฟรนชายส์ไม่เหมาะที่จะทำ หรือการทำแฟรนชายส์ในบางธุรกิจอาจจะทำให้คุณภาพไม่เหมือนกับที่เราทำเอง

ต่อมาสิ่งที่ต้องตอบในมิติอื่นๆ อีกนอกเหนือจากตัวเราที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ก็คือ คนที่อยากจะนำธุรกิจเราไปเปิด เขาอยากได้อะไรจากธุรกิจเรา ซึ่ง เราต้องให้สิ่งที่เขาอยากได้ด้วย ไม่งั้นเขาจะซื้อธุรกิจเราไปเปิดทำไม โดยสาระรีฟ จะสรุปให้สั้นๆ ว่า คนที่จะซื้อธุรกิจแฟรนชายส์นั้น เขาอยากได้อะไรบ้าง

  • เขาอยากจะมีธุรกิจ ที่สำเร็จเหมือนกับธุรกิจที่เราทำ
  • เขาอยากได้เจ้าของธุรกิจที่สำเร็จ มาช่วยคิด ช่วยสอน ธุรกิจให้กับเขา

Franchisee & Franchisor คืออะไร

สำหรับคำถามที่สาระรีฟ ถามไปข้างบน หากเรามีคำตอบสำหรับธุรกิจเราในข้อมูลข้างล่างนี้ ก็มาเรียนรู้หัวข้อนี้กันต่อ นั่นก็คือ คำศัพท์ของการทำธุรกิจแฟรนชายส์นั่นเอง เพราะหากเราไม่รู้ความหมายเหล่านี้ เวลาเราไปนำเสนอธุรกิจกับคนที่มีความรู้ด้านธุรกิจ จะทำให้คนที่สนใจอยากนำธุรกิจเราไปเปิด เขามองว่าเราไม่ชำนาญ อาจจะทำให้เขาตัดสินใจไม่นำธุรกิจดังกล่าวไปเปิดได้ สาระรีฟจะให้วิธีการจำด้วยในตัว ฮาๆๆ

Franchisee

สำหรับคำนี้จะอ่านว่า แฟรนชายส์ซี ซึ่งแปลว่า คนที่สนใจจะเอาธุรกิจเราไปเปิดสาขาแฟรนชายส์นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เราทำธุรกิจไก่ทอด มีคนอยากเปิดสาขาแถวบ้านอยู่ต่างอำเภอกัน คนที่ติดต่อ หรือ สาขานั้น ก็จะถูกเรียกว่า แฟรนชายส์ซี นั่นเอง (วิธีการจำ หากมี อี แสดงว่า เรากำลังพูดถึงอีกคน)

Franchisor

ส่วนอีกคำก็คือ แฟรนชายส์ซอ คำนี้จะตรงกันข้ามกับคำแรก ซึ่งหมายถึง เจ้าของธุรกิจนั่นเอง หากพูดถึงก็จะเป็นบริษัทที่ถือสิทธิ์ในการทำธุรกิจในแบรนด์นี้ หรือจะเป็นเจ้าของผู้ก่อนตั้งธุรกิจก็เป็นได้เช่นกัน (วิธีการจำ หากมี ออร แสดงว่า r ข้างหลังคือ เรา)

ประเภทของแฟรนชายส์

เมื่อเรารู้ศัพท์พื้นฐานกันแล้ว ก็มาดูในส่วนของประเภทแฟรนชายส์กันต่อ จะได้วางแผนได้ว่า ธุรกิจที่เราอยากจะทำเป็น ธุรกิจแฟรนชายส์ เราจะอยู่ในหมวดใหนดี ซึ่งแต่ละหมวดเอง ก็มีรูปแบบของธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน

Product & Brand Franchise

แฟรนชายส์ประเภท Product & Brand Franchise จะเป็นธุรกิจที่แฟรนชายส์ซอ ให้สิทธิ์ในการขายสินค้า & ชื่อแบรนด์ โดยมอบสิทธิ์ตัวแทนขายในพื้นที่นั้นๆ จะยกตัวอย่างง่ายๆ ก็แนวๆ ตู้หยอดเหรียญที่อยู่ตามห้าง ศูนย์รถยนต์ที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ ประมาณนั้น

Business Format Franchise

คราวนี้มากันต่อสำหรับประเภท Business Format Franchise จะเป็นธุรกิจที่แฟรนชายส์ซอ ให้สิทธิ์ในการขายสินค้า/บริการ & ชื่อแบรนด์ โดยที่มีระบบการทำงานให้ด้วยในตัว ไม่ใช่เพียงแค่เอาสินค้าหรือบริการไปทำเอง ออกแบบเองเหมือนแบบแรก ยกตัวอย่างก็จะแนว ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ร้านกาแฟ Amazon หรือร้านไก่ทอดชื่อดัง KFC

Conversion Franchise

สุดท้ายก็จะเป็นประเภท Conversion Franchise จะเป็นการสร้างธุรกิจที่แตกต่างกับแบบแรกในมิติที่ ทั้ง 2 แบบข้างบน แฟรนชายส์ซี ไม่มีธุรกิจมาตั้งแต่แรก มีแค่ที่ดินเปล่า แล้วมาเริ่มทำธุรกิจกันใหม่ โดยที่เราเอาธุรกิจของเราไปลงให้ แต่ประเภทนี้จะเป็นการที่ตัวเรา แฟรนชายส์ซอ จะเข้าไปคุยกับธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว ว่าอยากจะเปลี่ยนชื้อหน้าร้านเป็นแบรนด์เราไหม ถ้าเอา เราจะช่วยตั้งระบบร้านให้ เอาสินค้าที่เคยขายราคาถูกกว่าเดิม แล้วมาร่วมกันทำร้านด้วยกัน

สิทธิ์ในการใช้แฟรนชายส์

สำหรับธุรกิจที่อยู่ในช่วงของการเจรจา ตกลงธุรกิจกับแฟรนชายส์ซี สิ่งที่เราเจ้าของธุรกิจต้องรู้เพิ่มเติมก็จะเป็น สิทธิ์ในการใช้แฟรนชายส์ ที่เขาจะเอาไปเปิดสาขาตามตำแหน่งที่เขาเสนอมา ตัวเราเองที่เป็นแฟรนชายส์ซอ ก็จะต้องคุยเรื่องสิทธิ์ในการใช้ สินค้า ชื่อแบรนด์ ของเราว่าเขาทำอะไรได้บ้าง ซึ่งสิทธิ์ในการใช้ร้านแฟรนชายส์จะมี 3 แบบประมาณนี้ครับ

Single Unit Franchise

สิทธ์ในแบบแรก จะเป็นการที่แฟรนชายส์ซี จะได้รับสิทธิ์ 1 สาขา ไปเปิดร้านตามสถานที่ที่จะเปิด ตำแหน่งนั้นๆ เท่านั้น หากอยากจะเปิดอีกซอยหนึ่งใกล้ๆ ก็ต้องคุยกันใหม่

Area Development Franchise

ส่วนสิทธิ์ที่มากขึ้นกว่าแบบ Single Unit Franchise ก็จะเป็นการที่แฟรนชายส์ซีได้รับสิทธิ์เปิด ได้หลายสาขาในพื้นที่กำหนดตามที่ตกลงกันใว้ เช่น ในตำบลนี้ ทางเจ้าของแบรนด์ หรือ แฟรนชายส์ซอ มอบให้ แฟรนชายส์ซี เปิดสาขาต่อเนื่องได้เลย แต่อาจจะมีกำหนดระยะเวลาว่า หากทำไม่ได้ในระยะเวลาที่กำหนด เราอาจจะให้สิทธิ์คนในพื้นที่มาเปิดสาขาได้เหมือนกันนะ

Master Franchise

สำหรับสิทธิ์แบบสุดท้าย จะเป็นสิทธิที่ทางแฟรนชายส์ซี จะได้รับสิทธิ์ในการขยายสาขาได้มากที่สุด อาจจะในระดับประเทศ ถ้าจะยกตัวอย่างก็แนวๆ ไก่ทอด KFC ที่แฟรนชายส์ซอ อยู่ในประเทศอเมริกา แล้วประเทศไทยอยากเอามาเปิดบ้าง เราก็ไปคุยเพื่อขอสิทธิในการมาเปิด หากเราได้ เขาก็จะมอบให้เราสามารถขยายได้ทั่วประเทศได้เลย เราจะไปขายแฟรนชายส์ต่อใน 2 แบบแรก ก็ย่อมได้ (แต่ส่วนแบ่งก็ตามตกลง นะจ๊ะ)

ค่าใช้จ่ายของผู้ที่สนใจซื้อแฟรนชายส์

สำหรับหัวข้อที่เริ่มสำคัญกันแล้ว ก็คือเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่จะเป็นรายได้หล่อเลี้ยงธุรกิจแฟรนชายส์ซอ นั่นเอง ในหัวข้อนี้ก็จะมาพูดกันว่า เราจะเก็บเงินแฟรนชายส์ซีอะไรบ้าง สาระรีฟจะมาแตกประเด็นให้ทุกคนได้วางแผนกันครับ

Initial Fee

รายได้เริ่มต้น ซึ่งจะเป็นค่าที่เราจะเก็บก้อนแรก ซึ่งอาจจะรวมถึง สิทธิ์ในการใช้ชื่อแบรนด์เรา ค่าสินค้าและอุปกรณ์เริ่มต้น ค่าดำเนินการต่างๆ ที่แฟรนชายส์ซีจ่ายรอบเดียวในครั้งแรก โดยจะจ่ายที่ราคาเท่าใหร่ ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจเหล่านั้นว่าทำอะไร ก็ลองไปบวก ลบ คูณ หาร กันเองนะครับ

Ongoing Fee

รายได้ต่อเนื่อง ส่วนนี้จะเป็นรายได้ที่เราจะเก็บหลังจากเปิดร้านไปแล้ว ก็จะมีค่าต่างๆ ที่เรามองว่า เราควรต้องได้รับสิทธิ์สำหรับส่วนแบ่งสาขาด้วย เพราะแฟรนชายส์ซอต้องเอาเงินส่วนนี้ไปช่วยทำการตลาดให้คนมาใช้บริการมากขึ้น โดยส่วนนี้จะเป็นตั้งแต่ ส่วนแบ่งจากการขาย (Royalty Fee) ค่าวัตถุดิบที่เราอาจจะบวกกำไรไปนิดหน่อย ค่าซอฟท์แวร์หรือระบบที่เราไปติดตั้งให้ เป็นต้น

การอบรม

สำหรับส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันในส่วนอื่นๆ ก็คือ การอบรมบุคลากรของสาขาแฟรนชายส์ที่เราให้สิทธิ์ไป ซึ่งถามว่าทำไมต้องมีเรื่องนี้ ก็เพราะว่า สาขาที่เปิดจากแฟรนชายส์ซี นั้น เขาเองไม่ได้เชี่ยวชาญเท่าตัวเรา ของบางอย่างอาจจะเริ่มทดสอบสินค้าใหม่ บริการใหม่จากสาขาหลักที่เป็นของแฟรนชายส์ซอ แต่พอจะขยายไปยังสาขาอื่นๆ ก็ต้องมีการสอนงานกันด้วย ก็จะช่วยให้สาขาอื่นๆ สามารถนำบริการหรือสินค้าใหม่ไปขายต่อได้

อีกทั้งการอบรมนี้ ก็จะรวมถึงการอัพเดทความรู้ของบุคลากรในแต่ละสาขาต่างๆ อีกด้วย ให้เขามีความรู้ความสามารถในมิติอื่นๆ ให้มากขึ้น โดยจะส่งผลถึงการบริการลูกค้า ที่จะดีขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

คู่มือแฟรนชายส์

สุดท้ายก็จะเป็นคู่มือแฟรนชายส์ ที่เราเองจะต้องเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น มาทำเป็นคู่มือ ให้แฟรนชายส์ซี สามารถนำคู่มือเหล่านั้นมาศึกษาเพิ่มเติมได้ หรือใช้ในการอบรมภายในสาขา ที่ทางแฟรนชายส์ซี จัดทำด้วยตนเอง โดยเอาคู่มือที่ได้รับมาตอนเริ่มต้น มาใช้ในการอบรมพนักงานให้สามารถมีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอได้

สำหรับ บทความที่สาระรีฟ อยากให้ทุกท่านได้อ่านต่อ

ช่องทางติดตามผลงาน

ติดตามผลงานช่องทางต่างๆ ได้

Facebook: https://www.facebook.com/sararifmkt

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCUt1RPFDIOaFnrogwZHi34Q

Tiktok : https://www.tiktok.com/@sararifmkt

Line : https://lin.ee/3KWTirDxI

Website : https://www.sararif.com

Sharif Densumite
Sharif Densumitehttp://www.sararif.com
Chief Executive Officer - Has Order Co, Ltd.
RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments