fbpx
วันจันทร์, กันยายน 16, 2024
หน้าแรกStrategyStartupRaising funds คืออะไร ศัพท์ที่ Startup ควรรู้จัก

Raising funds คืออะไร ศัพท์ที่ Startup ควรรู้จัก

Raising funds (Startup Fund Raising) หรือ การระดมทุน ศัพท์ที่คนอยู่ในวงการ Startup มักจะใช้กันสำหรับคุยกันเรื่องการหานักลงทุนที่สนใจอยากมาทำธุรกิจด้วยกัน โดยเป้าหมายในการระดมทุนก็เพื่อที่จะนำเงินที่ได้มาต่อยอดธุรกิจให้สามารถทำในสิ่งที่วางแผน บรรลุต่อการเติบโตของบริษัทมากขึ้น

หากเรามาพูดถึง จุดเริ่มต้นของ startup จริงๆแล้วเหล่า startup ทั้งหลายจะมีไอเดียในการทำธุรกิจจากการสังเกตุหรือเห็นโอกาสอะไรบางอย่าง มุมมองที่ตัวเองอยู่ พร้อมกับนำโอกาสเหล่านั้นมาลองทำตลาดแบบเล็กๆ (Lean Model) เพื่อที่จะดูว่าหากจะลงมือทำจริงแบบจริงจัง ลงทุนกันจริงจัง ลงแรงกันแบบเต็มตัว มันจะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

หาก Startup เจอวิธีที่สามารถทำให้ไอเดียทำธุรกิจประสบความสำเร็จแบบมีความมั่นใจ ก็จะเริ่มเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยแหล่งเงินทุน ซึ่ง Startup นั้นจะใช้แหล่งเงินทุนที่แตกต่างกว่าธุรกิจทั่วๆ ไปเนื่องจากว่าไอเดียเหล่านั้นมันแค่พิสูจน์ว่าตลาดมีโอกาส แต่ก็บอกไม่ได้หรอกว่าธุรกิจเราได้เมื่อลงมือทำจริงแล้ว มันจะมีโอกาสที่จะสร้างผลประกอบการให้กับธุรกิจมากน้อยแค่ไหน แปลว่าแหล่งเงินทุนก็มักจะใช้จากเงินของนักลงทุนที่เชื่อมั่นในไอเดียที่ Startup เหล่านั้นเสนอนั่นเอง

สำหรับหัวข้อนี้ สาระรีฟจะมาบอกถึง เหตุผลของการระดมทุนว่าเมื่อไหร่ที่ Startup ถึงสนใจที่อยากจะลงทุนและเงินเหล่านั้นจะถูกเอาไปใช้ทำอะไรโดยรูปแบบของการต้องการแหล่งเงินทุนเหล่านั้นก็จะขึ้นอยู่กับการเติบโตนั่นเอง

ช่วงทดสอบไอเดีย (Pre-seed)

ขั้นตอนเริ่มต้นจะเป็นการที่เราสตาร์ทอัพได้เห็นไอเดียอะไรบางอย่างแล้วรู้สึกอยากจะทดลองทำขึ้นมา เช่นสมมุติว่าเราเห็นคนเดินอยู่ข้างฟุตบาท แล้วสังเกตว่าคนส่วนมากมักจะเดินอย่างระมัดระวังเ พราะกลัวว่าจะลื่น อาจจะเพราะว่ากระเบื้องที่นั่นลื่นหรือรองเท้าที่ใส่อาจจะลื่น

จนทำให้รู้สึกว่ามีไอเดียว่าเอ๊ะ หากเราช่วยคนที่เดินอยู่ลื่นน้อยลงด้วยการที่ทำให้เขาเดินจากอย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้นและลดการเกิดอุบัติเหตุ ได้ก็น่าจะทำให้คนเดินมั่นใจมากขึ้น สิ่งเหล่านี้แหละก็จะเป็นไอเดียของสตาร์ทอัพที่อยากจะเข้ามาแก้หรือตอบโจทย์

ในช่วงนี้ Startup เองก็จะไปวิจัยตลาด โดยอาจจะไปสอบถามคน อาจจะไปลองเดินดูจริง หรือจะวิธีอะไรก็ว่ากันไป โดยการระดมทุนในขั้นตอนนี้ก็ มักจะได้มาจากการที่เราเอาเงินจากตัวเองนี่แหละ (Own money) จากเพื่อน (Friend) จากครอบครัว (Family) จากคนรู้จักใครก็ได้ที่เราเล่าไอเดียไปแล้วเค้ารู้สึกว่าเฮ้ยน่าสนใจที่อยากจะมาแก้ด้วยกัน (Fool) ก็จะได้เป็นเงินก้อนแรกในระดุมทุนนั่นเอง

ช่วงบ่มเพาะ (Seed)

พอตลาดได้เริ่มทำมาสักพักแล้ว จนเรารู้สึกว่ามันมีทางไปและสินค้าอะไรที่เราจะมาช่วยตอบโจทย์แก้ไขปัญหาที่เรามีไอเดีย แปลว่าปัญหาที่เราได้มาจากไอเดียก่อนหน้าที่เราเข้าไปหาตลาด โดยการแก้ความลื่นของคนที่เดินบนฟุตบาท ที่ความมั่นใจของไอเดียนี้ จะมาจากเราไปเก็บข้อมูลมาแล้ว จนทำให้เราได้เห็นว่าการทำพื้นรองเท้าที่สามารถใส่ได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็น พื้นคอนกรีต พื้นเปียกหรือ พื้นแบบใหนก็ตาม สามารถเดินได้โดยไม่ทำให้ลื่น

การระดมทุนในรอบนี้ก็เลยจะเป็นรอบที่เรียกว่าซีด (Seed Funds) โดยคนที่ลงทุนก็อาจจะเป็นกลุ่มเดิมที่ลงทุนกับเรามาแล้วก็ได้ โดยเพิ่มเงินให้ หรืออาจจะเป็นคนใหม่ที่ฟังข้อมูลตลาดที่เราไปเก็บมากและเขาก็มองว่าน่าสนใจและเอาไปทำเป็นสินค้าได้จริง คนเหล่านั้นก็จะมาลงทุนเพิ่มซึ่งผู้ที่ลงทุนก็จะมีหลากหลายก็แล้วแต่เลยว่าคนคนนั้นเขามาด้วยสถานะอะไร

เงินที่เราได้มาในรอบนี้ก็จะเอาไปทำสินค้าจริงล็อตแรก เพื่อที่จะมาลองจัดจำหน่ายว่า สมมุติฐานที่เราตั้งไว้จากการไปเก็บข้อมูลลูกค้าในตอนแรก เค้ามีการตอบรับมากน้อยแค่ไหนและมีอะไรอีกบ้างที่เราอาจจะยังไม่ได้คิดครอบคลุม เราก็จะไปปรับปรุงแก้ไขได้สินค้าเวอร์ชั่นต่อๆไป

ช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว (Growth)

ต่อมาในขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการลงทุนในช่วงที่ธุรกิจต้องการเติบโต โดยธุรกิจเรานั้นได้เอาสินค้าที่ผลิตขึ้นมาจริงแล้วจัดจำหน่ายจริงมาแล้ว พร้อมกับเห็นโอกาสว่ามีความต้องการของตลาดอีกมากที่เรายังบริการไม่ถึง ส่วนนี้แหละสตาร์ทอัพก็จะเริ่มหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการ จากไอเดียที่เราคิดให้ครอบคลุมกับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเช่นเดียวกับลูกค้าก่อนหน้าที่เคยใช้สินค้าและบริการเราไปแล้วนั่นเอง

ระดมทุนในรอบนี้ก็จะเรียกว่า ซีรีเอ (Series A) ซีรีบี (Series B) หรือจะเป็นซีรีที่มากขึ้นกว่านี้ (Series C,D,E) ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้รับเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากตัวอักษรก็หมายถึงเงินลงทุนที่ได้ก็จะยิ่งเพิ่มนั่นเอง โดยกลุ่มคนที่ลงก็มักจะเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เขามีเงินแล้วต้องการเพิ่มเติมธุรกิจที่จากสินค้าและบริการที่เราทำอยู่ ต่อยอดกับสิ่งที่เขาทำให้ธุรกิจเดิมของนักลงทุนให้เติบโตขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ช่วงขยายตัว (Expansion)

สำหรับธุรกิจ Startup ที่เริ่มมีการทำสินค้าและบริการ จนตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในปริมาณที่มากระดับหนึ่ง ก็เริ่มที่จะมีความคิดอยากจะแย่งส่วนแบ่งของตลาดที่มีอยู่เดิมให้มากยิ่งขึ้น โดยอาจจะขยับขยายจากพื้นที่ที่เราทำให้ครอบคลุมทั่วประเทศหรืออาจจะขยายไปในส่วนของต่างประเทศ ในส่วนนี้แหละก็จะเป็นการที่สตาร์ทอัพก็ต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อที่จะขยายตลาดเหล่านี้ในการเพิ่มสัดส่วนของตลาดของสินค้าและบริการตัวเองให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สำหรับการลงทุนเลยรอบนี้ก็อาจจะยังใช้คำว่าซีรีอยู่ แต่อาจจะเป็นซีรีที่ตัวอักษรมากกว่าบีก็เป็นไปได้ โดยที่คนลงทุนก็มักจะเป็น กองทุนสถาบันการเงิน บริษัทมหาชน เป็นต้น ที่เขาต้องการธุรกิจของเราไปต่อยอดในโอกาสของธุรกิจเดิมที่เขามีอยู่แล้ว ให้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น พร้อมกับตัวธุรกิจที่นักลงทุนลงทุนไปในสินค้าและบริการ ก็สามารถสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ เพิ่มเติมให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมได้ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจรองเท้ากีฬาข้ามชาติ โลโกความถูกต้อง อยากลงทุนในเทคโนโลยีพื้นรองเท้าของธุรกิจเราประมาณนั้นแหละ

ช่วงเติบโตอย่างมั่นคง (Maturity)

สุดท้ายก็จะเป็นขั้นตอนที่เหล่าสตาร์ทอัพทุกเจ้าใฝ่ฝันอยากจะมาถึงจุดนี้ ก็คือการที่ธุรกิจ Exit จากการขายกิจการ หรือต้องการที่จะเปิดการระดมทุนให้มากขึ้น โดยธุรกิจที่เติบโตอยู่แล้วนั้นสามารถต่อยอดการเติบโตไปได้อีก โดยคนลงทุนอาจจะเป็นคนทั่วไปหรือองค์กรอื่นๆ มาลงทุนในรูปแบบของการที่เราพาธุรกิจของเราเข้าตลาดหลักทรัพย์ (IPO) หรือ พูดให้เห็นภาพก็ประมาณว่า คนสามารถไปซื้อหุ้นเราในตลาดหุ้นนั่นแหละ

ซึ่งการระดมทุนในรอบนี้ นอกจากจะเป็นการขายกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็อาจจะเป็นการควบรวมกิจการก็เป็นไปได้ ด้วยการที่บริษัทยักษ์ใหญ่มารวมกับบริษัทเราเพื่อ ที่จะก่อตั้งเป็นอีกหนึ่งบริษัทในเครือของบริษัทใหญ่ แล้วนัดก็เป็นไปได้เช่นเดียวกันซึ่งรูปแบบของการระดมทุนแต่ช่วงนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของเหล่าสัตว์อัพว่ายาจะระดมทุนอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น สมมติบรัษิทเราชื่อ บริษัท รองเท้าใส่ไม่ลื่น และบริษัทที่จะควบรวมชื่อว่า บริษัท ทำถูกทุกอย่าง อยากจะรวมกิจการ ก็อาจจะตั้งชื่อใหม่เป็น บริษัท ร้องเท้าใส่ยังไง ก็ถูกทุกอย่าง จำกัด เป็นต้นนั่นเอง โดยลักษณะของการทำแบบนี้ก็จะเป็นการผสมชื่อกันระหว่างทั้ง 2

ส่วนใครอยากอ่านบทความแนว Startup ก็ไปอ่านต่อกันได้ สาระรีฟแนะนำบทความนี้เลย

ช่องทางติดตามผลงาน

ติดตามผลงานช่องทางต่างๆ ได้

Facebook: https://www.facebook.com/sararifmkt

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCUt1RPFDIOaFnrogwZHi34Q

Tiktok : https://www.tiktok.com/@sararifmkt

Line : https://lin.ee/3KWTirDxI

Website : https://www.sararif.com

Sharif Densumite
Sharif Densumitehttp://www.sararif.com
Chief Executive Officer - Has Order Co, Ltd.
RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments